ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เส้นทางโหดในหัวใจ

ไม่มีเส้นทางสายไหนโหดในหัวใจเท่ากับแถบชายแดนไทยพม่าทางตอนเหนือของไทย ฟังดูความคิดผมคล้ายคนฝังใจอย่างบอกไม่ถูกบนเส้นทางสายนี้แถบ อาจเป็นเพราะเราไม่คุ้นชินกับภูมิประเทศที่นั่น และเมื่อคุณตัดสินใจขึ้นไปสิ่งเดียวที่คุณทำได้คือการยอมรับกติกาของธรรมชาติ

ทิวเขาจากฝั่งไทยสลับซับซ้อนไต่ระดับไปยังแนวเทือกเขาสูง  แม่น้ำสาละวินกั้นระหว่างสองประเทศระยะทางเพียง 20 กิโลเมตรขึ้นไป  ใช้เวลาเดินทางเกือบครึ่งวัน ภาษาชาวบ้านเรียก "เส้นทางแม้ว" มันคือเส้นทางของชาวไทยภูเขาบนความสูงชัน ดูเหมือนระยะทางใกล้แต่ใช้เวลาเดินทางนานกว่าพื้นที่ราบอย่างน้อย 3-5 เท่า

จุดหมายปลายทางแต่ละครั้ง คือพื้นที่รอยต่อชายแดนเมียนมา  เส้นทางถนนดินจากฝีมือชาวบ้าน ตัดคดเคี้ยวไปตามไหล่เขา ฤดูฝนชาวบ้านบนดอยสูงในถิ่นทุรกันดารไม่มีใครอยากเดินทางขึ้น-ลงจากเขา หลายครอบครัวถึงขั้นขนข้าวสารอาหารแห้งจากด้านล่างไปเก็บไว้กินในระยะ 3 เดือน หลังจากฤดูฝนย่างก้าวมาเยือน

เส้นทางไหล่เขาใน ต.แม่วะหลวง อ.ท่าสองยาง จ.ตาก


ชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยงลงมาซื้ออาหารในตลาด ต.แม่วะหลวง  อ.ท่าสองยาง จ. ตาก


ฝนคล้ายเพื่อนสนิทของชาวเขาที่เดินทางมาเยือนแทบทุกปี ธรรมชาติไม่ได้ลงโทษใครทั้งนั้น ทุกคนได้ปรับวิถีให้เข้ากับธรรมชาติ น้อยคนจะกล้าต่อสู้กับฤดูกาลนี้ นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ชาวไทยภูเขาไม่ยินดียินร้ายกับการมาเยือนของฤดูฝน แม้มันจะกลายเป็นการเดินทางที่สุดแสนจะดูโหดร้ายสำหรับเราๆ 
 
ครูดอย ไม่ใช่คนภูเขา ครูดอยไม่ใช่คนพื้นที่ราบทั้งหมด ชีวิตของครูดอยแสนจะลำบากกลายเป็นภาพชินตาของเราไปแล้วจริงไหม?  ผมกำลังพูดถึง แม่พิมพ์ของชาติบนโรงเรียนห่างไกลในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะพื้นที่รอยต่อตะเข็บชายแดน ฤดูฝนคล้ายเพื่อนสนิทของชาวไทยภูเขา แต่ไม่ใช่เพื่อนสนิทของครูดอยคนใหม่ 

สภาพถนนใน ต. แม่วะหลวง อ. ท่าสองยาง จ. ตาก ระหว่างทีมข่าวกำลังเดินทางไปโรงเรียนบนดอย

ครูโรงเรียนแม่อมกิสาขาอมกอทะ  จ.ตาก กำลังใส่โซ่ล้อให้รถยนต์ของตัวเองไปให้ถึงโรงเรียน

ผมแอบนึกถึงภาพยนต์เรื่อง คิดถึงวิทยา เรื่องราวของครูเรือนแพ ไม่รู้ซิใครเคยดูคงเข้าใจว่าทำไมผมคิดถึงหนังเรื่องนี้ เป็นเรื่องราวความรักความผูกพันระหว่างครูกับนักเรียนชาวเขาบางทีมันไม่สามารถอธิบายด้วยคำพูดหวานๆ ถ้าคุณมาเห็นชีวิตครูดอย คุณจะเข้าใจว่าทำไมหลายคนตกหลุมรักและทุ่มเทให้นักเรียนของพวกเขา

ทั้งหมดที่เขียนมามันเป็นความคิดระหว่างผมกำลังนั่งรถข่าวไปทำสารคดี เรื่อง เส้นทางครูดอย : แม่พิมพ์บนหลังคาประเทศให้กับรายการเช้านี่ที่หมอชิต ในพื้นที่ภูเขาเขตรอยต่อจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ ผมเรียกมันว่า "เส้นทางโหดในหัวใจ"

ภาพครูในภาพยนต์เรื่อง คิดถึงวิทยากำลังเดินทางไปบ้านนักเรียน

เส้นทางเขาสลับกับแม่น้ำที่เราต้องเดินทางไปยังโรงเรียน

ภาพถ่าย-อนุชิต อภิชัย
ภาพมุมสูง-วีระเดช-หมื่นศรี
ภาพวีดีโอ-จักริน สุอังควาทิน
กราฟฟิค-จักรพันธุ์  ไชยขันธ์
เล่าเรื่อง-ชนะชัย แก้วผาง









ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

เกือบถอดใจดื้อๆ

นี่ผมจะถอดใจตั้งแต่เห็นแผนที่เส้นทางขึ้นไปยังโรงเรียนเลยจริงหรือ? จุดที่พวกผมต้องเดินทางเข้าออกโรงเรียนมันไกลและยากมากนะ รถยนต์บรรทุกอุปกรณ์อาจขึ้นไปไม่ได้ ครูจา ครูนุ ครูหนึ่งในโรงเรียนแม่อมกิ  ตำบลแม่วะหลวง อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก เตือนพวกเราด้วยความเป็นห่วง ช่วงนี้คือฤดูฝน การเดินทางเข้าสู่โรงเรียนยากกว่าฤดูแล้ง 3-5 เท่า   ครูทั้ง 3 คนต้องเดินทางขึ้นไปโรงเรียนของตัวเองที่อยู่บนดอยสูง พวกเขาจะไม่เดินทางคนเดียวเป็นเด็ดขาด แต่ไม่ทันจะถึงไหนฤดูฝนก็เริ่มเล่นงานพวกเราซะแล้ว แค่เห็นเส้นทางในแผนที่ ผมอยากถอดใจให้ได้ แผนที่แส้นทางจากจุดเริ่มไปถึงจุดหมายปลายทางบนเขาสูง ถ่ายกันทั้งที่ฝนตกนี่แหละ สภาพถนนตรงเนินเขาระหว่างฝนตกหนัก ครูทั้งสามคนต้องเดินทางต่อ เพราะลูกๆของพวกเขารออยู่ที่โรงเรียน การเดินทางต่อไม่ใช่เรื่องง่าย  ชาวบ้านบนดอยขอติดรถมอเตอร์ไซต์ไปกับครูจา ถ้าลุงเดินเท้าคงใช้เวลาอย่างต่ำ 1-2 วัน การเดินทางผ่านเนินเขาในฤดูฝนไม่ใช่เรื่องง่าย ความลื่นไถลเป็นอุปสรรคสำหรับเรา ผมเริ่มถอนหายใจ ทั้งที่นั่นเป็นแค่การเริ่มต้น ซ้ำร้ายกว่านั้น รถยนต์บรรทุกอุ

คนเรามันต้องบ้ากันบ้าง...

"ไอ้บ้า"      ใครๆ ก็เรียกผมแบบนั้นมาตั้งแต่เด็ก  ทั้งที่ผมแทบไม่รู้เลยว่าทำไมเขาหาว่าผมบ้า  เพียงแค่เด็กคนหนึ่งมีความคิดไม่เหมือนคนอื่น จนถูกเพื่อนรุ่นราวคราวเดียวในหมู่บ้านมองว่า "บักขวางโลก"   บางทีเขาไม่ให้ผมเข้ากลุ่มด้วยก็หลายหน  จะเรียกว่า "บักขี้ดื้อ"  คงไม่แปลก    ผมชื่อ หิน - ชนะชัย  แก้วผาง  ปัจจุบันทำงานเป็นผู้ประกาศข่าวภาคสนามของบริษัทมีเดียสตูดิโอจำกัด (บริษัทลูกของสถานีโทรทัศน์ช่อง 7  สี  )   ผลิตรายการข่าวเช้านี้ที่หมอชิต และรายการประเด็นเด็ด 7 สี   กว่า 8 ปีแล้วที่ผมใช้ชีวิตอยู่กับการเป็นนักข่าว  นับตั้งแต่จบการศึกษาปริญญาตรี สาขาภาษาไทย จากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อปี 2552  หลายคนอาจสงสัยว่าสาขาที่ผมเรียนมันเกี่ยวอะไรกับสายทีวี ทั้งที่ผมเองไม่มีความรู้เกี่ยวกับนิเทศศาสตร์โดยตรง   แต่สิ่งที่เรียนมามันเน้นหนักไปทางวิชาการเขียนมากกว่าด้วยซ้ำ  ผมควรต้องไปเป็นนักเขียน นักข่าวหนังสือพิมพ์ นักเขียนคอลัมน์ ฯลฯ อะไรแบบนั้นมากกว่า   ใช่ครับ ผมก็คิดแบบนั้น   แบบที่หลายคนคิด แต่ใครจะไปรู้ว่า  4